Thursday, December 5, 2024
Home Authors Posts by Webmaster LK

Webmaster LK

395 POSTS 0 COMMENTS

ค่าเงินยูโรฟื้นตัวหลังมีข่าวลือว่า EU อาจร่วมกันกำหนดนโยบายการเงิน

การลงทุนในฝั่งยุโรปเริ่มมีสัญญาณบวก หลังจากมีข่าวลือว่ากลุ่มประเทศยุโรปอาจร่วมกันกำหนดนโยบายการเงิน เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากสงครามยูเครนที่ทำให้เชื้อเพลิงมีราคาแพงขึ้น โดยมีการคาดเดาว่าอาจออกมาในรูปแบบของพันธบัตร EU bonds ซึ่งจะนำไปใช้อุดหนุนด้านพลังงาน และค่าใช้จ่ายด้านการปกป้องความมั่นคง ทั้งนี้ เห็นได้ชัดว่ายุโรปจำเป็นต้องมีมาตรการรับมือกับปัญหาราคาพลังงาน และระดับเงินเฟ้อที่พุ่งสูงต่อเนื่องมาหลายเดือนจนส่งผลกระทบต่อประชาชน อีกทั้งยังทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจช่วงหลังสถานการณ์โรคระบาดหยุดชะงัก ระยะต่อไปจึงมีความเป็นไปได้ว่าหลายประเทศจะปรับไปใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว   อย่างไรก็ตาม ล่าสุดยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนเกี่ยวกับข่าวลือดังกล่าว...

RBA ประเมินสถานการณ์ยูเครนเป็นปัจจัยเสี่ยงใหม่

AUD แข็งค่าขึ้นในวันนี้ หลังจบการประชุมประจำเดือนของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ซึ่งแม้จะยังไม่มีประกาศลดมาตรการผ่อนคลายนโยบายการเงิน แต่บรรยากาศโดยรวมยังเป็นบวกเพราะธนาคารระดับมลรัฐหลายแห่งปรับคาดการณ์เศรษฐกิจออสเตรเลียไปในทางที่ดีขึ้น ส่วน RBA ขยายเป้าหมายระดับเงินเฟ้อตามปัจจัยผลกระทบจากสถานการณ์ในยูเครน ทั้งนี้ RBA ให้เหตุผลว่าสงครามในยูเครนทำให้เกิดความไม่แน่นอน เพราะเงินเฟ้อในหลายพื้นที่ทั่วโลกพุ่งสูงตามราคาพลังงานและความขัดข้องในห่วงโซ่อุปทานสินค้าขณะที่มีอุปสงค์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะโภคภัณฑ์ต่างๆ ที่มีราคาแพงขึ้น เช่นเดียวกับดอกเบี้ยพันธบัตรที่ปรับตัวขึ้นในเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้มีความคาดหวังต่อการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

Market Spotlight: GBP/CAD จะเปลี่ยนแนวโน้มหรือไม่ ?

GBP/CAD มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในวันนี้ โดยเกิดการอ่อนค่าลงในลักษณะ double top ประกอบกับมีสัญญาณ bearish divergence momentum ทั้งที่แข็งค่าต่อเนื่องมาตลอดช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้ที่ GBP/CAD จะเคลื่อนลงไปทดสอบแนวรับใหม่บริเวณ 1.7198 และ 1.7041...

วิกฤตยูเครน-รัสเซีย และท่าทีของ Fed ส่งผลเป็นปัจจัยลบต่อตลาดเงิน

การละเมิดข้อตกลงหยุดยิงบริเวณพรมแดนยูเครน-รัสเซีย จะยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ต่อไปในระยะสั้น เพราะสถานการณ์ดังกล่าวยังไม่มีแนวโน้มจะคลี่คลาย จึงส่งผลให้ทรัพย์สินความเสี่ยงต่ำรวมทั้งดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เมื่อวานนี้ทำราคาเปิดและปิดตลาดอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ รายงานสถิติค้าปลีกสหรัฐฯ แม้จะออกมาสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ แต่กลับมีอิทธิพลน้อยกว่าแถลงการณ์ของ Fed ซึ่งผิดจากความคาดหวังของตลาด เพราะไม่มีการประกาศให้ชัดเจนว่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ในเดือน มี.ค.65 หรือไม่ โดยเปิดเผยเพียงว่าจะเร่งเทขายทรัพย์สินให้เร็วขึ้นเพื่อปรับสถานะงบดุล

ดัชนี CPI สหรัฐฯ สูงกว่าระดับคาดการณ์ แต่ไม่เหนือความคาดหมาย

สถิติดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ เดือน ม.ค.65 มีผลออกมาอยู่ที่ 7.3% ขณะที่ Core CPI อยู่ที่ 5.9% เป็นไปตามที่ Fed เคยยอมรับว่าประเมินระยะเวลาของภาวะเงินเฟ้อผิดพลาดไป โดยเปลี่ยนไปให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพของราคาสินค้าเป็นเป้าหมายหลักแทนเรื่องการขยายตัวของภาคแรงงาน ซึ่งปัจจุบันได้บรรลุเป้าหมายการจ้างงานในระดับเต็มที่แล้ว และมีความพร้อมทีจะรับมือกับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้  

Market Spotlight: GBP/JPY จะเกิด Breakout หรือไม่

GBP/JPY มีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจในสัปดาห์นี้ โดยมีการปรับฐานที่บริเวณ 157.88 ซึ่งเป็นจุดที่มีโอกาสจะกลับมาเกิด Breakout ได้หลังราคาเคลื่อนตัวลงจากระดับดังกล่าวไปอยู่ที่ 153.39 ตามปริมาณการขาย GBP/USD ที่หนาแน่น จึงมีแนวโน้มที่ราคาจะแข็งค่าขึ้นมาใหม่   แนวโน้มดังกล่าวมีที่มาจากปัจจัยบวกในค่าเงิน GBP เนื่องจากธนาคารอังกฤษ (BOE) แสดงท่าทีชัดเจนมากขึ้นว่าจะปรับไปใช้นโยบายการเงินแบบหดตัว ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงเรื่องการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสสายพันธุ์...

USD อาจกลับแนวโน้มเป็นขาขึ้นหากดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าพ้นแนวต้าน 96.50

ในระยะนี้สกุลเงินที่มีความเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกับวัฏจักรธุรกิจหรือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น AUD, CAD, NOK ปรับตัวอ่อนค่าลง (ขณะที่เงินหยวนมีการเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น) เพราะปัจจัยความขัดแย้งในการเมืองระหว่างประเทศกรณียูเครน และการลงทุนที่ลดลงในทรัพย์สินความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนของกำหนดการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed อย่างไรก็ดี แม้ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ที่นักลงทุนต่างแสวงหาผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลให้ USD อ่อนค่าลง แต่ล่าสุดสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนทิศทาง...

GBP/USD มีแนวโน้มปรับฐานขึ้นมากกว่า EUR/USD

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ เคลื่อนไหวในแดนลบ ส่งผลให้ทรัพย์สินความเสี่ยงต่ำเป็นที่ต้องการมากขึ้น ขณะที่โครนนอร์เวย์ (NOK) ได้รับผลลกระทบน้อยกว่าสกุลเงินอื่น โดยเมื่อวานนี้ธนาคารกลางนอร์เวย์ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม แต่เปิดเผยว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือน มี.ค. ซึ่งกลายเป็นปัจจัยดึงดูดสำหรับนักลงทุน ส่วนดอลลาร์สหรัฐฯ ยังมีโอกาสฟื้นตัวได้จากปัจจัยเรื่องการประชุมของ Fed ที่กำลังจะจัดขึ้น ซึ่งมีประเด็นที่ได้รับความสนใจคือการแถลงทิศทางนโยบายการเงินของปี 65 เช่น การขึ้นอัตราดอกเบี้ย และการขายทรัพย์สินเพื่อปรับบัญชีงบดุล...

USD อ่อนค่าลงหลังจากแถลงการณ์ของประธาน Fed

ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง แม้ว่าเมื่อวานนี้นายเจโรม เพาเวล (Jerome Powell) ประธาน Fed จะได้รับการเสนอชื่อจากรัฐสภาให้ดำรงตำแหน่งเดิมต่อ เนื่องจากนายเพาเวลแถลงความเห็นเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ ซึ่งระบุว่าเงินเฟ้อในปัจจุบันกำลังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เพราะส่งผลกระทบต่อระดับการจ้างงานและการขยายตัวในระยะยาวของเศรษฐกิจ โดยนายเพาเวลกล่าวว่า “ตลาดแรงงานจะมีเสถียรภาพเมื่อเศรษฐกิจขยายตัวได้ต่อเนื่องในระยะยาว และการขยายตัวดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อระดับราคาสินค้ามีเสถียรภาพ” อย่างไรก็ตาม นายเพาเวลให้ความเห็นต่อการวางแผนบัญชีงบดุลของ Fed ไปในเชิงบวก...

แนวโน้มระยะสั้นสะท้อนความเสี่ยงของการเข้าซื้อ USD ช่วงสิ้นปี

เมื่อวานนี้หุ้นสหรัฐฯ ฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในแดนบวกเฉลี่ยประมาณ 1.9% โดยมีหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เติบโตโดดเด่น 2.4% ทั้งที่ยังไม่มีข่าวสารสำคัญที่ส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานออกมา ดังนั้น จึงคาดว่าการฟื้นตัวดังกล่าวอาจมีสาเหตุจากปัจจัยทางเทคนิค หลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นเคลื่อนไหวลงไปหยุดที่ระดับ 50-DMA (ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในรอบ 50 วัน) ทำให้เกิดสัญญาณปรับฐานขาขึ้น ทั้งนี้ นักลงทุนพยายามมองข้ามประเด็นนโยบายก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่เสี่ยงจะถูกคัดค้านจากนักการเมืองพรรคเดโมแครต และอาจทำให้ขั้นตอนการอนุมัติจากรัฐสภาไม่ราบรื่นนัก...
50FansLike
- Advertisement -

EDITOR PICKS