Home Courses เทรดโดยไม่เจอ Slippage เป็นไปได้หรือไม่ ?

เทรดโดยไม่เจอ Slippage เป็นไปได้หรือไม่ ?

4269
0

จำได้หรือไม่เวลาที่คุณต้องการซื้อ/ขายในราคาที่กำหนดไว้ แต่โบรคเกอร์กลับให้ราคาที่แย่กว่าและทำให้คุณได้กำไรน้อยกว่าที่คาดหวัง หรือมีบางครั้งที่คุณต้องการตัด stop loss และปิดออเดอร์ให้เร็วที่สุด แต่กลับปิดได้ในราคาที่ต่ำกว่าเดิมและขาดทุนมากกว่าเดิม

มีเทรดเดอร์ที่ไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้หรือไม่ เป็นไปได้จริงๆ หรือเปล่า ?

สำหรับคนที่ยังไม่เคยพบเหตุการณ์ที่โบรคเกอร์ส่งราคาซื้อ/ขายให้คุณโดยผิดไปจากระดับที่กำหนดไว้ สถานการณ์แบบนี้เรียกว่า “slippage” ซึ่งคุณอาจจะเคยได้ยินมาบ้างที่มีคนบ่นว่าเทรดไม่ได้กำไรเพราะเกิด slippage ขึ้นกับเขา และแน่นอนว่าคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองเช่นกัน 

แต่เป็นไปได้หรือไม่ที่จะเทรดกับโบรคเกอร์ที่ไม่มี slippage เลย ? แม้เราจะเคยได้ยินว่าเกิด slippage กับเทรดเดอร์ในโบรคเกอร์ขนาดเล็กและไม่มีการควบคุม แต่กระทั่งคนที่เปิดบัญชีกับโบรคเกอร์ที่มีความมั่นคงอย่าง XM , IC markets , Perperstone ก็ยังพบ slippage ได้ ทั้งที่ไม่มีเทรดเดอร์คนไหนอยากขาดทุน

แล้วคุณจะทำอะไรได้บ้าง ?

อันดับแรก โบรคเกอร์ที่ไม่มี slippage เลย นั้นมีอยู่จริงหรือเปล่า ? ทำไมบางครั้งถึงเกิด slippage แต่บางครั้งก็ไม่เกิดขึ้น ? คำตอบไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่คุณคิด เพราะโดยปกติแล้วโบรคเกอร์จะได้รับราคามาจาก Liquidity providers (ผู้ให้บริการสภาพคล่อง) อีกราคาหนึ่ง ก่อนจะมาตั้งราคาใน Trading terminal ของตัวเองอีกราคาหนึ่ง และเป็นเช่นนี้ในทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นโบรคเกอร์ Forex , หุ้น , Futures   

ทั้งนี้ ช่วงเวลาเทรดของโซนยุโรปและอเมริกา ในภาวะที่ตลาดมีความเสถียรและไม่มีข่าวสารสำคัญๆ มาส่งผลกระทบ การเคลื่อนไหวของราคาก็จะมีความมั่นคงราบเรียบ โดยราคาที่ได้รับจาก Liquidity providers กับราคาที่โบรคเกอร์ตั้งไว้ใน Trading terminal จะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เช่น ทองคำอาจจะมีการเสนอราคา (quoted) อยู่ที่ 1890.00 , 1890.00 , 1890.01 , 1890.02 ซึ่งแม้ราคาจะมีความเคลื่อนไหวแต่ก็เป็นขนาดที่เล็กมาก และหากคุณตัดสินใจเทรด โบรคเกอร์ก็จะส่งคำสั่งให้ตรงตามราคาที่ต้องการ

แต่ในภาวะที่เกิดข่าวสารสำคัญขึ้นในตลาด ราคาก็จะเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงรวดเร็ว และจะมีเทรดเดอร์เข้ามาเก็งกำไรจากความเคลื่อนไหวดังกล่าว ซึ่งยิ่งกลายเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาผันผวนมากขึ้นในระดับวินาทีต่อวินาที ราคาทองในตัวอย่างข้างต้นจึงอาจเคลื่อนไหวในระดับที่แตกต่างกันในช่วงกว้างมาก เช่น 1890.00 , 1890.50 , 1891.00 , 1891.80 จนทำให้ ณ เวลาที่คำสั่งเทรดของคุณเดินทางไปถึงเซิร์ฟเวอร์ของโบรคเกอร์ ราคาก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแล้วและเป็นราคาที่แย่ลงด้วย ซึ่งทำให้คุณพบกับ slippage นั่นเอง

การเทรดในเวลากลางคืนหรือช่วงเช้ามืดก่อนเวลาเปิด session ตลาดยุโรป ซึ่งเป็นห้วงที่มี Liquidity providers ไม่กี่แห่งเปิดทำการ ก็ส่งผลให้คุณมีโอกาสเจอ slippage มากขึ้น เพราะเมื่อ supply มีปริมาณน้อย โบรคเกอร์ก็จะได้รับราคาที่สูงกว่าปกติ

อีกทั้งหากคุณเทรดคราวเดียวในปริมาณมาก เช่น 500 lots โบรคเกอร์ก็จะต้องใช้เวลานานขึ้นในการให้ราคาตามที่กำหนด และคำสั่งเทรดอาจถูกแบ่งเป็นออกเป็นปริมาณย่อยๆ เพื่อที่จะได้ราคาใกล้เคียงที่สุดในเวลาที่รวดเร็วที่สุด ซึ่งทำให้มีโอกาสเจอ slippage มากขึ้นเช่นกัน

นี่เป็นความผิดของโบรคเกอร์หรือไม่ แน่นอนว่าไม่ใช่ !

นอกจากนี้ ปัญหาที่เกิดจากความขัดข้องของสัญญาณอินเตอร์เน็ตและการเชื่อมต่อ ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับโบรคเกอร์ และ Liquidity providers (เช่นเดียวกับเวลาที่ Netflix หรือ Youtube ที่บ้านของคุณขัดข้อง) ซึ่งส่งผลให้เกิด slippage ได้ แต่ในกรณีนี้คุณสามารถติดต่อโบรคเกอร์ให้ตรวจเช็คความผิดพลาดของคำสั่งเทรด โดยที่ Tickmill เราจะชดเชยความเสียหายให้แก่เทรดเดอร์ หากปัญหาเกิดขึ้นจากฝั่งโบรคเกอร์เอง

ท้ายที่สุดนี้ อย่าลืมว่าการเทรดมีความเสี่ยง เราหวังว่าโพสต์นี้จะช่วยสร้างความเข้าใจในกลไกการทำงานของตลาด เพื่อให้คุณเทรดได้อย่างมั่นใจยิ่งขึ้น

เปิดบัญชีเทรดกับ Tickmill https://secure.tickmill.com/users/register