ดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงตั้งแต่เมื่อวานนี้ โดยตัวเลขดัชนี US Dollar index (DXY) ตกลงมา 0.3% อยู่ที่ 99.565 (จากเดิม 99.865) แต่ยังคงแข็งค่าเหนือจุดต่ำสุดในรอบ 2 สัปดาห์ที่ 99.44 หลังจาก Fed ประกาศว่าจะใช้มาตรการเดิมต่อไปจนกว่าจะมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยปัจจุบันดัชนีความผันผวน หรือ Volatility Index (VIX) ได้ลดลงจาก 33.57 เหลือ 31.23 ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางไม่ชัดเจน เนื่องจากความไม่แน่นอนของแนวนโยบายในอนาคตของ Fed ส่วนในวันนี้...
EUR/USD (ราคากลาง 1.09) EUR/USD มีจุด pivot point อยู่ที่ 1.09 โดยมีแนวรับ-แนวต้านที่ใกล้ที่สุดอยู่ที่ 1.0630 และ 1.1050 อย่างไรก็ตาม ในรอบสัปดาห์ยังมีระดับ pivot point อยู่เพียง 1.08 GBP/USD (ราคากลาง 1.22)
1) ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเอเชียเริ่มฟื้นตัว หลังจากตัวเลขอัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯ ระยะ 10 ปี เพิ่มขึ้นเป็น 0.619% (จากเดิม 0.6175%) รวมทั้งการที่ราคาน้ำมันดิบปรับฐานกลับขึ้นมาอีกครั้ง นอกจากนี้ บรรยากาศที่ดีขึ้นในตลาดหุ้นยังเป็นผลจากการที่รัฐสภาสหรัฐฯ อนุมัตินโยบายอัดฉีดเงินเยียวยาสถานการณ์ COVID-19 เพิ่มเติม และตัวเลขการส่งออกของออสเตรเลียที่ขยายตัวกลับมาถึง 29% 2) ดอลล่าร์สหรัฐฯ แข็งค่า หลังจากรัฐสภาสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะผ่านร่างอนุมัติเงินเยียวยาสถานการณ์ COVID-19 จำนวน 5 แสนล้านดอลล่าร์ฯ 3) ราคาแร่ทองแดงปรับตัวสูงขึ้น ตามตัวเลขส่งออกเดือน มี.ค....
22 เม.ย.63 สัปดาห์นี้อังกฤษและ EU กลับมาหารือกันต่อในประเด็น Brexit อีกครั้ง หลังจากต้องหยุดไปชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเชื่อว่ายังมีเวลามากพอสำหรับการเจรจา จนกว่าจะถึงกำหนดสิ้นสุดใน 31 ธ.ค.63 อย่างไรก็ตาม นรม.อังกฤษ เคยประกาศว่าจะยกเลิกการเจรจาหากไม่ได้ร่างข้อตกลงภายในเดือน มิ.ย.63 นี้ แต่จากเหตุการณ์ในปัจจุบันทำให้ นรม.อังกฤษ ยังไม่มีประกาศใดๆ ออกมาเพิ่มเติม จึงไม่มีความแน่นอนว่าเงื่อนไขดังกล่าวจะเป็นไปตามเดิมหรือไม่ และทำให้มีคาดการณ์ว่าทางการอังกฤษคงไม่ต้องการเสี่ยงตัดสินใจ ในทางที่จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศย่ำแย่ลงกว่าเดิมด้วยการยกเลิกเจรจา Brexit ก่อนกำหนด
1) ตลาดหุ้นเอเชียซบเซาลงตามหลัง Wall Street ที่ปิดลบเมื่อวานนี้ 2) ราคาน้ำมันดิบ WTI ติดลบ จากปริมาณที่ล้นตลาดเพราะการบริโภคหดตัวลง 3) ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศใช้มาตรการงดรับคนเข้าเมืองชั่วคราว เพื่อสกัดกั้นการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19 และรักษาตำแหน่งงานในประเทศไว้ให้พลเมืองสหรัฐฯ 4) สหรัฐฯ มีแนวโน้มจะอนุมัตินโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่เร็วๆ นี้ 5) อัตราการจ้างงานในอังกฤษเพิ่มขึ้น 176,000 ตำแหน่ง...
16 เม.ย.63 ราคาน้ำมันยังคงเป็นขาลงต่อเนื่องตั้งแต่สัปดาห์ที่แล้ว โดยทำราคาต่ำสุดใหม่ในรอบปี 63 เนื่องจากมีปริมาณที่ล้นตลาดเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเก็งกำไรเทขายหนักขึ้น หลังจากที่สถานการณ์โรคระบาดผ่อนคลายลงเล็กน้อยเมื่อไม่นานนี้ ส่วนอีกปัจจัยสำคัญที่กดดันให้ราคาน้ำมันตกต่ำ ก็คือผลการประชุมครั้งล่าสุดของกลุ่ม OPEC+ ซึ่งมีมติเห็นชอบให้ลดกำลังการผลิตลง 10 ล้านบาร์เรล/วัน แต่เม็กซิโกกลับมีข้อแม้ว่าจะลดโควตากำลังการผลิตของตนเองลงแค่ 100,000 บาร์เรล/วัน (น้อยกว่าที่ควรจะเป็นไปตามข้อตกลง 400,000 บาร์เรล/วัน สำหรับประเทศเม็กซิโก) การผลิตในปริมาณที่มากเกินโควตาของเม็กซิโก จะส่งผลให้กำลังการผลิตรวมของกลุ่ม OPEC+ ลดลงเพียง 9.7 ล้านบาร์เรล/วัน (จากเป้าหมายเดิมที่ต้องการลดให้ถึง 10...
15 เม.ย.63 ความคืบหน้าในการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน มีความเคลื่อนไหวล่าสุดเมื่อ 15 ม.ค.63 ซึ่งมีการลงนามในข้อตกลงเฟส 1 หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายเจรจากันได้ข้อยุติเมื่อเดือน ต.ค.62 ว่าจีนจะเพิ่มปริมาณการซื้อสินค้าสหรัฐฯ และยอมให้สหรัฐฯ เข้ามาขยายขยายตลาดการค้าในจีน แลกกับการที่สหรัฐฯ จะยกเลิกการตั้งกำแพงภาษี ซึ่งความตกลงในเฟสแรก นำไปสู่แผนการเจรจาเฟส 2 ซึ่งทั้งสองฝ่ายหวังว่าจะสามารถยกเลิกมาตรการภาษีต่อกันและกลับมาค้าขายกันอย่างเสรีตามเดิม แต่แล้วก็เกิดเหตุไวรัส COVID-19 แพร่ระบาดในเดือน ต.ค.62 ทำให้การเจรจาต้องหยุดชะงักลง แนวโน้มความสัมพันธ์ของสองมหาอำนาจจึงยังมีความไม่แน่นอน แม้เมื่อเดือน มี.ค. ปธน.สีจิ้นผิง และ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์...
ทองคำ นโยบายแทรกแซงเศรษฐกิจของ Fed ส่งผลให้ราคาทองคำเป็นขาขึ้นต่อเนื่อง จากการที่อัตราดอกเบี้ยและอัตราเงินเฟ้อตกต่ำอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน หลังมีการใช้มาตรการ QE แบบไม่จำกัดวงเงิน อีกทั้งมีการอัดฉีดงบประมาณ 2.3 ล้านล้าน ดอลล่าร์ฯ เพื่อปล่อยกู้ให้ภาคธุรกิจ รวมทั้งซื้อพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่น และ Junk-bonds (หนี้ที่มีความเสี่ยงสูง) ของเอกชน โดยล่าสุดอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ประจำเดือน มี.ค. ออกมาอยู่ที่ -0.4% ประกอบกับภาวะราคาน้ำมันตกต่ำและอัตราการว่างงานที่สูงขึ้น ได้ส่งผลเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดทองคำ Technical & Trade...
แนวโน้มเด่นของสัปดาห์นี้ : 1) Fed ออกมาตรการเสริมสภาพคล่องเพิ่มเติม Fed ออกมาตรการเพิ่มวงเงินกู้ให้ภาคธุรกิจเป็นจำนวน 2.3 ล้านล้านดอลล่าร์ฯ ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายฉุกเฉินเพื่อรับมือสถานการณ์ไวรัส ซึ่งได้รับอนุมัติจากสภาคองเกรสเมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปยังกลุ่มธุรกิจ SME รวมถึงรัฐบาลท้องถิ่นและเมืองที่ประสบความยากลำบาก 2) กลุ่ม OPEC+ ร่วมมือลดกำลังการผลิต หลังจากการประชุมเมื่อเดือน มี.ค. ประสบความล้มเหลวและส่งผลให้ราคาน้ำมันตกต่ำ  แต่ในที่สุดกลุ่ม OPEC และรัสเซียได้เห็นชอบข้อตกลงลดกำลังการผลิต...
7 เม.ย.63 วันนี้ตลาดหุ้นเอเชียปิดการซื้อขายในแดนบวก เช่นเดียวกับฝั่งยุโรปและสหรัฐฯ ที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ตามสถานการณ์ราคาน้ำมันและค่าเงินรูเบิลของรัสเซียที่แข็งค่ามากขึ้น ... ทำให้เกิดคำถามว่า เหตุใดราคาทองคำจึงแข็งค่าต่อเนื่องทั้งที่ตลาดหุ้นฟื้นตัว ? ทั้งนี้ หากพิจารณาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรชดเชยเงินเฟ้อ (Treasury Inflation Protected Securities—TIPS) จะพบว่าอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อราคาทองคำ ... เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หรือ Real interest rate ซึ่งไม่นับรวมผลกระทบของเงินเฟ้อ ... มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับการเคลื่อนไหวของราคาทองคำ โดยการลดลงของ Real interest rate...