ในระยะนี้สกุลเงินที่มีความเคลื่อนไหวเชื่อมโยงกับวัฏจักรธุรกิจหรือหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ เช่น AUD, CAD, NOK ปรับตัวอ่อนค่าลง (ขณะที่เงินหยวนมีการเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้น) เพราะปัจจัยความขัดแย้งในการเมืองระหว่างประเทศกรณียูเครน และการลงทุนที่ลดลงในทรัพย์สินความเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นผลจากความไม่แน่นอนของกำหนดการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายของ Fed
อย่างไรก็ดี แม้ในช่วงต้นเดือน ม.ค. ที่นักลงทุนต่างแสวงหาผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่สูงกว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะส่งผลให้ USD อ่อนค่าลง แต่ล่าสุดสถานการณ์เริ่มเปลี่ยนทิศทาง โดย USD กลับมาเป็นที่ต้องการอีกครั้งหลังความตึงเครียดในกรณียูเครนรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้น S&P ปรับฐานขึ้นถึง 12% ขณะที่ AUD/JPY อ่อนค่าลง 4% YTD (ที่ผ่านมา JPY เป็นสกุลเงินที่มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงข้ามกับการลงทุนในทรัพย์สินความเสี่ยงสูง)
ทั้งนี้ แนวโน้มของดัชนี S&P ที่ดีดตัวจาก 4223 ขึ้นมาที่ 4409 เมื่อวานนี้ สะท้อนว่ายังคงมีการเข้าซื้อต่อเนื่อง และตลาดให้ความสำคัญน้อยลงกับปัจจัยเรื่องการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ Fed ซึ่งมีคาดการณ์ใหม่ว่าจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพียง 3 ครั้งในปี 65 (จากเดิมที่ประเมินไว้ 4 ครั้ง) อีกทั้งพบว่านักลงทุนยังมีการถือครองเงินสดในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง จึงมีโอกาสที่จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นช่วงขาลง
นอกจากนี้ บรรยากาศการลงทุนในยุโรปที่มีแนวโน้มซบเซาลงจากความขัดแย้งกรณียูเครน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเสี่ยงด้านพลังงาน ได้กลายเป็นปัจจัยบวกให้ USD แข็งค่าขึ้น โดยหากดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) เคลื่อนไหวพ้นแนวต้านหลักบริเวณ 96.50 ได้ ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าจะเกิดการกลับแนวโน้มเป็นขาขึ้นใน USD ต่อไป
ติดตาม Blog Tickmill Thailand ได้ที่ https://www.tickmill.com/th/blog/