ดอลลาร์สหรัฐฯ ดีดตัวแข็งค่าตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งมีการรายงานสถิติเงินเฟ้อ โดย Core PCE (ดัชนีราคาการบริโภคพื้นฐานส่วนบุคคล) ขยายตัวได้เพียง 3.6% จากตัวเลขคาดการณ์ที่ 3.7% ขณะที่ Labor Cost Index (ดัชนีค่าจ้างแรงงาน) ในไตรมาส 3 ขอสหรัฐฯ กลับขยายตัวได้ 1.3% สูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 1.9% และผลให้อัตราการเติบโตรายปีของค่าจ้างแรงงานพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบกว่า 15 ปี
สำหรับก่อนหน้านี้ทั้ง ECB และ Fed ต่างเน้นย้ำว่าเงินเฟ้อระลอกที่สองมีโอกาสจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผลกระทบดังกล่าวแผ่ขยายไปถึงค่าจ้างแรงงาน ดังนั้น หลังจากนี้จึงคาดหมายได้ว่าอุปสงค์ในภาคการบริโภคจะสูงขึ้น เช่นเดียวกับภาคส่วนอื่นๆ
อย่างไรก็ดี วันนี้ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ มีการปรับฐานอยู่ที่บริเวณ 94 จุด ก่อนถึงกำหนดการรายงานมติของ Fed และตัวเลขสถิติ NFP (ค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตร) ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงว่า Fed จะประกาศนโยบายลด QE อย่างเป็นทางการ โดยในวันพุธที่จะถึงนี้ (3 ต.ค.64) มีแนวโน้มว่าการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐฯ จะขึ้นอยู่กับระดับของการดำเนินมาตรการลดวงเงินถือครองพันธบัตร ซึ่งล่าสุดมีแนวต้านใกล้ที่สุดอยู่ที่ช่วง 94.50-94.75 และแนวโน้มในระยะสั้นยังมีโอกาสแข็งค่าได้
อนึ่ง มีข้อสังเกตว่าผลตอบแทนพันธบัตรระยาวของสหรัฐฯ มีการปรับตัวลง (พิจารณาโดยเปรียบเทียบผลต่างอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะ 10 ปี และ 2 ปี) ตามคาดการณ์ความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดของนโยบาย Fed เรื่องประมาณการเงินเฟ้อ ที่อาจจะคลี่คลายลงก่อนเวลา ซึ่งจะส่งผลให้การเลิก QE เร็วเกินไป กลายเป็นผลเสียต่อการเติบโตของเศรษฐกิจและเงินเฟ้อแทน
ติดตาม Blog Tickmill Thailand ได้ที่ https://www.tickmill.com/th/blog/