หุ้นเอเชียปรับตัวขึ้นตามยุโรปและสหรัฐฯ หลังจากบอร์ดบริหาร Fed ส่งสัญญาณว่ากำลังพิจารณานโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ก่อนจะนำเสนอให้สภาคองเกรสอนุมัติต่อไป (แม้แกนนำฝ่ายค้านจะออกความเห็นว่า ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะมีความคืบหน้า) ทั้งนี้ นายแลร์รี คัดโลว (Larry Kudlow) ที่ปรึกษา ปธน. ด้านเศรษฐกิจยืนยันว่าสหรัฐฯ กำลังใช้นโยบายการคลังแบบขยายตัวเพื่อค้ำจุนเศรษฐกิจของประเทศ
โฆษกธนาคารกลางนิวซีแลนด์ประกาศว่าพร้อมจะใช้อัตราดอกเบี้ยติดลบหากมีความจำเป็น นอกจากนี้ สถิติการจ้างงานของออสเตรเลียก็ออกมาสูงกว่าคาดการณ์ทั้งสำหรับตำแหน่งงานประจำและงานพาร์ทไทม์ ส่วนอัตราการว่างงานในไตรมาส 2 ของฝรั่งเศสก็ปรับลดลงเหลือ 7.1% (จากเดิม 7.8%)
ผู้นำองค์กรธุรกิจในอังกฤษตอบรับนโยบายขยายเวลาช่วยเหลือลูกจ้างไปจนถึงสิ้นเดือน ต.ค.63 ตามการริเริ่มของ นายริชี สุแนค (Rishi Sunak) ประธานสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อังกฤษ นอกจากนี้ ระดับราคาอสังหาริมทรัพย์ในเดือน ก.ค. ยังปรับตัวสูงขึ้นกว่า 12% ตามการประเมินของสมาคมวิชาชีพธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อังกฤษ (RICS house)
ใน 14 ส.ค.63 จะมีการเปิดเผยตัวเลขการว่างงานประจำสัปดาห์ในสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้สภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (โดยก่อนหน้านี้ตัวเลขที่ออกมายังมีความผันผวนค่อนข้างมาก) นอกจากนี้ ยังมีกำหนดการเปิดเผยสถิติภาคค้าปลีกและภาคการผลิตของเดือน ก.ค.63 รวมทั้งคาดการณ์ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือน ส.ค.63 ด้วย
EUR/USD : (1.1820)
EUR/USD มีแนวต้านอยู่ที่ 1.1810 โดยยังมีโอกาสปรับฐานลงมาได้ถึง 1.16 อย่างไรก็ดี สำหรับวันนี้มีแนวโน้มจะทำราคาปิดที่ประมาณ 1.17
GBP/USD (1.30 – 1.3250)
GBP/USD ราคาเคลื่อนไหวอยู่ที่ pivot zone บริเวณแนวต้าน 1.3166 โดยมีโอกาสจะปรับฐานลง ทั้งนี้ ที่บริเวณ 1.30 ยังคงมีปริมาณเข้าซื้อหนาแน่น และมีแนวโน้มจะปรับฐานลงไปยัง 1.2860 ก่อนขยับขึ้นมาที่แนวต้าน 1.13160 อีกครั้ง
USD/JPY (105.50 – 107.50)
USD/JPY ยังมีปริมาณเข้าซื้อหนาแน่นที่ 104.50 โดยมีแนวรับล่าสุดอยู่ที่ 105.50 ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 107.50
AUD/USD ( .7170/90 – .6950)
AUD/USD ราคาปรับฐานลงจาก .7220 ลงมาที่ .7170/90 โดยมีแนวรับหลักอยู่ที่ .6950 ทั้งนี้ ล่าสุดมีแนวโน้มจะปรับฐานกลับขึ้นไปได้ที่ระดับ .7000