Home Fundamental การปรับตัวของธนาคารกลางต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

การปรับตัวของธนาคารกลางต่อความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

1481
0

เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นท่ามกลางภาวะขาดแคลนสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลให้เกิดความกดดันต่อราคาสินค้ามากกว่าที่ผู้กำหนดนโยบายประเมินไว้ เพราะหลังจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์สามารถปรับฐานกลับมามีราคาพุ่งสูงขึ้นในเดือน ก.ย. นี้ เป็นห้วงเวลาเดียวกับที่ธนาคารกลางหลายแห่ง รวมทั้ง Fed ได้ลดการผ่อนคลายนโยบายการเงิน โดยมีสมาชิกบอร์ดบริหาร Fed จำนวนมากขึ้นแสดงความกังวลถึง “เงินเฟ้อระลอกที่ 2” ซึ่งขณะนี้ยากจะโต้แย้งว่าปัญหาเงินเฟ้อเป็นเพียงสภาวะชั่วคราวดังที่เคยมีคาดการณ์

ล่าสุดธนาคารกลางหลายแห่งจึงต้องปรับตัวตามเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตราแลกเปลี่ยนของแต่ละสกุลเงินขึ้นอยู่กับคาดการณ์ของธนาคารกลางในประเทศนั้น ว่าจะประเมินระดับราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นไว้มากน้อยเพียงใด โดยธนาคารกลางที่ยังยึดติดกับมุมมองเดิมว่าเงินเฟ้อจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว มีแนวโน้มที่จะทำให้สกุลเงินนั้นอ่อนค่าลง

สำหรับวันนี้ นาย Luis de Guindos รองประธาน ECB แถลงว่าการขาดสภาพคล่องในห่วงโซ่อุปทาน (หนึ่งในสาเหตุของเงินเฟ้อในภาคการผลิต) เป็นปัจจัยเชิงโครงสร้างที่จะผลักดันให้เกิดเงินเฟ้อมากกว่าหนึ่งระลอกต่อค่าจ้างแรงงานและการบริโภค สะท้อนได้ว่า ECB มีความกังวลต่อเงินเฟ้อมากกว่าที่ตลาดประเมินไว้

Technical Views:

ความเห็นของนาย Guindos ทำให้เกิดความคาดหมายว่า ECB จะปรับเปลี่ยนระยะเวลาของโครงการรับซื้อทรัพย์สิน ส่งผลให้ EUR/USD ปรับฐานกลับขึ้นมา แต่มีแนวโน้มว่าจะแข็งค่าได้ไม่เกิน 1.17 เพราะในวันศุกร์นี้ (8 ต.ค.64) มีปัจจัยกดดันจากการรายงานสถิติ Non-Farm Payrolls และสถิติภาคแรงงานของสหรัฐฯ จึงมีแนวโน้มที่ EUR/USD จะไปเคลื่อนไหวทดสอบปริมาณขายที่บริเวณ 1.15

นอกจากนี้ การที่ Fed มีนโยบายการเงินแบบตึงตัวมากขึ้น ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยขยายตัว ได้ส่งผลให้ราคาทองคำปรับตัวลงในช่วงต้นเดือน ก.ย. ซึ่งประกอบกับการรายงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ ใน 8 ต.ค.64 ก็มีโอกาสที่ปริมาณขายทองคำจะทำให้ราคาลงไปเคลื่อนไหวถึงขอบล่างของ downtrend

อนึ่ง สำหรับการประชุม OPEC+ ในสัปดาห์นี้ หากมีการตกลงกันเพิ่มปริมาณผลิตมากกว่า 400,000 บาร์เรล/วัน ก็จะส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลง เช่นเดียวกับการแข็งค่าของสกุลเงิน NOK และ RUB

ติดตาม Blog Tickmill Thailand ได้ที่ https://www.tickmill.com/th/blog/