Home ClubFX EN ทำไมดอลลาร์สหรัฐจึงจะยังแข็งค่าขึ้นหลังการปรับลดดอกเบี้ย

ทำไมดอลลาร์สหรัฐจึงจะยังแข็งค่าขึ้นหลังการปรับลดดอกเบี้ย

3364
0

หากเฟดจะต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจริงๆ เหตุใด ดอลลาร์ สหรัฐจึงยังคงฟื้นตัวขึ้นแข็งค่ามากที่สุดในรอบเกือบสามปี?

นักลงทุนกว่า 78% เชื่อว่าเฟดจะต้องปรับลด อัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ลง 25 จุดเบสิสจนเหลือ 2.25 เป็นครั้งแรกในรอบทศวรรษ แต่นักลงทุนรู้สึกว่าดอลลาร์ยังควรต้องเดินหน้าต่อไปอีก จึงผลักให้ดอลลาร์ไต่ขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่เก้าติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นการฟื้นตัวที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ช่วง 10 วันก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะได้รับชัยชนะในทำเนียบขาว

แล้วเหตุใดดอลลาร์จึงไม่ร่วงลงไปตั้งแต่มีการคาดการณ์ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ? การปรับดอกเบี้ยลงเป็นครั้งแรกหลังจากมีการปรับเพิ่มขึ้นถึงเก้าครั้งนับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2015 เป็นต้นมาควรที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์แย่ลง ไม่ใช่ฟื้นตัวมาแข่งกับ “สงครามการค้า”

แน่นอนว่า การซื้อขายสกุลเงินย่อมได้รับผลกระทบไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เนื่องจากการวัดค่าของเงินสกุลหนึ่งๆ ต้องใช้การเปรียบเทียบกับสกุลอื่นๆ แต่เนื่องจากท่าทีประนีประนอมของเฟดที่อยู่ดีๆ ก็เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างเกิดช้าและน้อยกว่าธนาคารกลางสำคัญแห่งอื่นๆ

สำหรับตลาดพันธบัตรนั้น พันธบัตรรุ่นอายุ 10 ปี ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% สามารถดึงดูดความต้องการจากนักลงทุนต่างชาติที่จำเป็นต้องซื้อดอลลาร์ร่วมด้วยได้ค่อนข้างมาก ในขณะที่ยุโรปยังมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแรง รวมทั้งสถานการณ์ความไม่แน่นอนในเรื่องของ Brexit เป็นตัวฉุดค่าเงิน ยูโร และ ปอนด์ ให้ต่ำลงจนเกือบแตะจุดต่ำสุดในรอบสองปีครึ่ง โดยแกว่งตัวอยู่ที่เหนือระดับต่ำสุดดังกล่าวมาตั้งแต่ปี 1985

และสิ่งนี้จะเกิดขึ้นหากเฟดยอมรับกับความต้องการของตลาดและแรงกดดันของประธานาธิบดีทรัมป์ แต่หากเฟดไม่ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ดอลลาร์ก็จะปรับตัวสูงขึ้น

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่นักลงทุนจะรีบปรี่ไปเปิดสถานะดอลลาร์ ขอให้ทราบไว้ก่อนว่าเงินดอลลาร์ยังมีแรงต้านทานที่ค่อนข้างมากอยู่ในขณะนี้

DXY Daily ChartDXY Daily Chart
การซื้อขายดอลลาร์เมื่อวานนี้ทำให้เกิดรูปแบบ shooting star ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีแรงฝั่งอุปทานเกิดมากขึ้นในระดับราคาที่สูงพอๆ กับช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม

และแม้ว่าการฟื้นตัวนี้จะดำเนินมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2016 ความแข็งแรงในการเคลื่อนที่ของราคากลับดูไม่ดีเท่าที่ควร ค่าเงินดอลลาร์ปรับตัวขึ้นในช่วงวันที่ 4-18 พฤศจิกายน 2016 ราว 4.3% แต่ปัจจุบันปรับขึ้นเพียง 1.3% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก แม้ว่าปัจจุบันราคาจะต่ำกว่าแต่ก็ยังปรับขึ้นได้น้อยกว่าในช่วงนั้น

ดังนั้นเราจึงขอแนะนำให้ “อดทน” เหมือนกับที่นายพาวเวลล์เคยกล่าวไว้ในช่วงก่อน แล้วรอจนกระทั่งเกิดการย่อตัวก่อนที่จะเปิดสถานะ long ส่วนนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูงอาจทำการซื้อขายที่ไม่เป็นไปตามแนวโน้มก็ได้ แต่ต้องไม่ขัดกับความเชื่อของตลาดที่มีต่อโอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของเฟดก่อนจะเข้าถือสถานะ long ให้เหมาะสม

กลยุทธ์การซื้อขาย
นักลงทุนที่ไม่ชอบความเสี่ยง อาจรอให้มีการปรับฐานอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะเปิดสถานะ long เนื่องจากจะมีนักลงทุนกลุ่มหนึ่งที่ทำการซื้อขายตามกระแสข่าวเตรียมขายทำกำไรในช่วงที่มีข่าวการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้ปานปลาง อาจพอใจที่จะเข้าซื้อเมื่อราคาย่อตัวลงมาอยู่ที่ 97.60 ซึ่งเป็นระดับราคาสูงสุดที่เคยทำได้ในวันที่ 9 กรกฎาคม โดยมี stop-loss อยู่ต่ำกว่าระดับ 97.40 และต่ำกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้น

นักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง อาจเสี่ยงเปิดสถานะ short โดยอาศัยจังหวะกลับตัวไปหาเส้นแนวโน้มขาขึ้น

ตัวอย่างการซื้อขาย

ราคาเข้า: 98.10

Stop-Loss: 98.30 เหนือระดับสูงสุดของ shooting star

ความเสี่ยง: 20 pips

เป้าหมาย: 97.50 เหนือเส้นแนวโน้มขาขึ้น

ผลตอบแทน: 60 pips

อัตราความเสี่ยงต่อผลตอบแทน: 1:3

Referrence: https://th.investing.com