ตลาดหุ้นสหรัฐฯ และเอเชียมีทิศทางเป็นขาขึ้น หลังจาก Fed ประกาศว่าจะรับซื้อพันธบัตรบริษัทเอกชนตามนโยบายเงินกู้ฉุกเฉิน นอกจากนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ยังมีแผนอนุมัติงบประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยดังกล่าวจึงส่งผลให้ดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง แต่ในขณะเดียวกันทรัพย์สินความเสี่ยงต่ำ เช่น ทองคำ ก็ถูกกดดันจากบรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้น ที่พร้อมรับความเสี่ยงมากขึ้นจากแผนอุดหนุนของ Fed ส่วนราคาน้ำมันกำลังประสบภาวะขาลง จากสถานการณ์แพร่ระบาดไวรัส COVID-19 ระลอกใหม่ ที่ทำให้กรุงปักกิ่งต้องใช้มาตรการ Lockdown อีกครั้ง Technical & Trade views
การประชุม EU Summit ในวันที่ 18-19 มิ.ย.63 นี้ เป็นปัจจัยที่จะส่งผลต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรป ซึ่งมีเป้าหมาย 2 ประเด็น คือ 1) เพิ่มระดับการใช้จ่ายภาครัฐให้ถึง 2% ของ GDP และ 2) กำจัดปัจจัยเสี่ยงจากความแตกแยกในกลุ่มสมาชิก EU ผ่านการสนับสนุนตลาดพันธบัตรรัฐบาล (European Government Bond Market หรือ EGB) มาตรการเพิ่มสภาพคล่องผ่านการใช้จ่ายงบประมาณ และการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มสมาชิก EU เชื่อว่าจะสามารถทำให้เศรษฐกิจในระยะยาวฟื้นตัวจาก COVID-19 ได้...
ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ส่งผลให้เงินหยวนและดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง เช่นเดียวกับราคาน้ำมันที่มีปริมาณสำรองล้นเกินความต้องการ ส่วนคู่เงินกลุ่ม Commodity Currency (สกุลเงินของประเทศที่มีการส่งออกขนาดใหญ่ในประเภทวัตถุดิบเพื่อการผลิตสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น CAD AUD NZD RUB) แข็งค่าขึ้นจนส่งผลเสียต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงมีความพยายามที่จะแทรกแซงค่าเงิน อาทิ AUD ซึ่งเป็นที่นิยมน้อยกว่า EUR JPY หรือ CHF ในฐานะเป็นสกุลเงินความเสี่ยงต่ำที่มีการซื้อขายเพื่อเก็งกำไรในภาวะราคาน้ำมันถูกลง ทั้งนี้ ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นระหว่างออสเตรเลียและจีน ส่งผลให้ AUD อ่อนค่าลงในระยะสั้น และเกิดสัญญาณ Overbought หลังจากกระทรวงศึกษาธิการของจีนแจ้งเตือนให้นักศึกษาในต่างประเทศ ระมัดระวังความเสี่ยงจากการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ และพิจารณาทบทวนการตัดสินใจศึกษาต่อในออสเตรเลีย
EUR/USD (ราคากลาง 1.1250 แนวต้าน 1.1420) EUR/USD มีแนวรับอยู่ที่ 1.1250 โดยมีทิศทางแข็งค่าต่อไปที่ 1.14 ก่อนจะเกิด profit taking ทั้งนี้ หากสามารถทำราคาปิดเหนือ 1.1230 ก็จะมีแนวโน้มปรับฐานกลับลงมายัง 1.10 ก่อนจะเป็นขาขึ้นอีกครั้ง GBP/USD (ราคากลาง 1.26 แนวต้าน 1.28)
  5 มิ.ย.63 ตลาดหุ้นยุโรปวันนี้เคลื่อนไหวเป็นบวก หลังจากธนาคารกลางแห่งสหภาพยุโรป (ECB) ประกาศว่าจะขยายวงเงินซื้อพันธบัตรในโครงการ Pandemic Emergency Purchase Program (PEPP) อีก 600,000 ล้านยูโร ซึ่งส่งผลให้ทรัพย์สินที่ ECB จะเข้าซื้อตามนโยบายเพิ่มสภาพคล่อง จนถึงเดือน มิ.ย.64 จะมีมูลค่ารวมอยู่ที่ราวๆ 4 ล้านล้านยูโร   นาง Christine Lagarde...
EUR/USD (ราคากลาง 1.10 แนวต้าน 1.1235) ปัจจุบันมีแนวรับอยู่ที่ 1.10 และมีทิศทางแข็งค่าไปที่ 1.1235 ซึ่งเป็นแนวต้าน monthly R1 และ weekly R1 ดังนั้นจึงมีแนวโน้มจะเกิด profit taking และทำให้ราคาอ่อนลงมาทดสอบระดับ 1.10 อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม หากราคาสามารถทรงตัวอยู่ที่ 1.1180 ก็มีโอกาสที่จะแข็งค่าต่อได้ถึง 1.13
ดอลล่าร์ออสเตรเลียแข็งค่าขึ้นในสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยได้รับปัจจัยบวกจากการทยอยเปิดเมืองทั่วโลก ส่วนตลาดหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์มีความผันผวนตามสถานการณ์ความเสี่ยงที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประจำเดือน มิ.ย. มีมติไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย อีกทั้งได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไปในทางที่ดีขึ้น หลังจากออสเตรเลียสามารถควบคุมสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ในประเทศได้ ทั้งนี้ ออสเตรเลียมีดัชนีการใช้จ่ายผู้บริโภค (consumer spending) ที่เริ่มฟื้นตัว ประกอบกับตัวเลขคาดการณ์ GDP ในไตรมาส 1 ก็ออกมาดีกว่าที่มีการพยากรณ์ก่อนหน้านี้ โดยปรับจาก -0.4% เป็น -0.3% แต่ก็ยังถือเป็นการหดตัวของ GDP ไตรมาส 1 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 54 ซึ่งถ้าตัวเลขในไตรมาส...
วันนี้ตลาดหุ้นเอเชียกลับมาขยายตัวสูงสุดในรอบ 3 เดือน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการทยอยเปิดเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีอิทธิพลเหนือกว่าปัจจัยลบจากสถานการณ์จลาจลในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในวันนี้ดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงเนื่องจากปัจจัยเหตุจลาจลดังกล่าว ประกอบกับรายงานตัวเลขดัชนีการใช้จ่ายส่วนบุคคล (personal spending) ที่ออกมาในวันศุกร์ที่แล้ว ซึ่งหดตัวลงถึง 13.6% ทำสถิติต่ำสุดใหม่ ทั้งนี้ การที่ ปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ ยังไม่ได้ตัดสินใจเด็ดขาดเกี่ยวกับมาตรการแทรกแซงฮ่องกง ส่งผลให้ความกังวลเรื่องข้อตกลงการค้าเฟส 1 ของสหรัฐฯ-จีน มีบรรยากาศที่ดีขึ้น แต่ก็ยังคงเป็นประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ส่วนเหตุจลาจลในสหรัฐฯ ได้ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ-จีน และทำให้ราคาทองคำขยับสูงขึ้น ตามที่มีคาดการณ์อุปสรรคในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลัง COVID-19 สำหรับตลาดน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่แล้ว...
27 พ.ค.63 ดัชนีค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (DXY) อ่อนค่าหลุดแนวรับ 99 จุด ประกอบกับราคาทองคำปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวอยู่ที่แนวรับ $1,700 สะท้อนถึงการลงทุนที่เริ่มกลับมาอยู่ในบรรยากาศ Risk-on อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สภาวะค่าเงินของแต่ละประเทศอาจไม่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนจากการเทียบคู่กับดอลล่าร์สหรัฐฯ แต่สามารถสะท้อนได้จากการเทียบคู่ Crosspairs ซึ่งในภาพรวมของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ถือว่ายังคงมีทิศทางที่ผสมปนเปกัน ทั้งการรับความเสี่ยงและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-taking VS Risk-aversion) แต่ดอลล่าร์สหรัฐฯ ก็ยังเป็นสกุลเงินที่มีความได้เปรียบมากที่สุด แม้ว่าความผันผวนโดยรวมจะเพิ่มสูงขึ้น สำหรับกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกนโยบายล่าสุด โดยอัดฉีดเงิน 1.1 ล้านล้านดอลล่าร์ เข้าระบบเศรษฐกิจ เมื่อรวมกับนโยบายก่อนหน้านี้ในเดือน...
1) ตลาดหุ้นเอเชียมีความเคลื่อนไหวไปในทางบวก โดยเฉพาะตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ขยายตัวขึ้น 2% หลังจากรัฐบาลยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน พร้อมกับประกาศมาตรการเสริมสภาพคล่องทางการเงินเพิ่มเติม ในขณะที่จีนยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเงิน 2) เกิดการเก็งกำไรอัตราดอกเบี้ยติดลบของอังกฤษ หลังจาก จนท.ระดับบริหาร ของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เปิดเผยว่าอาจมีการพิจารณานโยบายอัตราดอกเบี้ยติดลบดังกล่าว Technical Views : EUR/USD : (ราคากลาง 1.09 แนวต้าน 1.1050)