Home Tickmill Fundamental แนวโน้มค่าเงินเยนและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น หลังนโยบายอัดฉีดสภาพคล่อง

แนวโน้มค่าเงินเยนและผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น หลังนโยบายอัดฉีดสภาพคล่อง

3513
0

27 พ.ค.63

ดัชนีค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ (DXY) อ่อนค่าหลุดแนวรับ 99 จุด ประกอบกับราคาทองคำปรับตัวลงมาเคลื่อนไหวอยู่ที่แนวรับ $1,700 สะท้อนถึงการลงทุนที่เริ่มกลับมาอยู่ในบรรยากาศ Risk-on อีกครั้ง อย่างไรก็ตาม สภาวะค่าเงินของแต่ละประเทศอาจไม่แสดงให้เห็นได้ชัดเจนจากการเทียบคู่กับดอลล่าร์สหรัฐฯ แต่สามารถสะท้อนได้จากการเทียบคู่ Crosspairs ซึ่งในภาพรวมของตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ถือว่ายังคงมีทิศทางที่ผสมปนเปกัน ทั้งการรับความเสี่ยงและการหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk-taking VS Risk-aversion) แต่ดอลล่าร์สหรัฐฯ ก็ยังเป็นสกุลเงินที่มีความได้เปรียบมากที่สุด แม้ว่าความผันผวนโดยรวมจะเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับกรณีที่รัฐบาลญี่ปุ่นออกนโยบายล่าสุด โดยอัดฉีดเงิน 1.1 ล้านล้านดอลล่าร์ เข้าระบบเศรษฐกิจ เมื่อรวมกับนโยบายก่อนหน้านี้ในเดือน เม.ย. ส่งผลให้ญี่ปุ่นมียอดการใช้จ่ายรวมสูงถึง 2.2 ล้านล้านดอลล่าร์ เพื่อเยียวยาผลกระทบจากไวรัส ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 40% ของ GDP ประเทศ และมีมูลค่าสูงเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงสหรัฐฯ ที่ใช้เงินไป 2.3 ล้านล้านดอลล่าร์ แต่หากเทียบสัดส่วนกับ GDP ของสหรัฐฯ แล้ว ก็ทำให้ญี่ปุ่นครองแชมป์ประเทศที่มียอดการใช้จ่ายต่อ GDP สูงที่สุด

นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณในปี 63 อีก 200 ล้านล้านเยน ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จึงต้องรับซื้อพันธบัตรอย่างไร้ขีดจำกัด และทำให้ราคาพันธบัตรรัฐบาลตกต่ำลงจนอาจเกินระดับควบคุม หรือ Yield control (จากกราฟเปรียบเทียบอัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10  ปี ของสหรัฐฯ กับญี่ปุ่น จะพบว่าฝั่งสหรัฐฯ มีความผันผวนสูงกว่ามาก) อย่างไรก็ดี BOJ เคยประกาศไว้ตั้งแต่ปี 59 ว่าได้ตั้งเป้าหมายที่จะบีบให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะ 10 ปี แคบลงมาใกล้ระดับ 0% ซึ่งหมายความว่าญี่ปุ่นตั้งใจจะขยายเพดานหนี้อยู่ก่อนแล้ว ทั้งนี้ แม้คู่เงิน USD/JPY อาจไม่สามารถสะท้อนภาวะที่แท้จริงของค่าเงินเยน แต่ในระยะกลางอาจมีความเป็นไปได้ที่เงินเยนจะอ่อนค่า เมื่อเทียบคู่ Crosspairs กับสกุลเงินอื่นๆ