Home Fundamental ท่าทีเพิกเฉยของเฟดทำให้ตลาดต้องกลับมาผันผวนอีกครั้ง

ท่าทีเพิกเฉยของเฟดทำให้ตลาดต้องกลับมาผันผวนอีกครั้ง

2944
0

หากเป้าหมายของ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ และบรรดาคณะกรรมการทั้งหมดคือความต้องการที่จะทำให้นักลงทุน องค์กรธุรกิจ และผู้บริโภคเกิดความเชื่อมั่นว่าจะเศรษฐกิจจะขยายตัวได้อย่างยั่งยืนแล้วล่ะก็ บอกได้เลยว่าพวกเขาประสบความล้มเหลวในภารกิจนี้อย่างแท้จริง

ขณะที่นายพาวเวลล์ออกมาให้ความเห็นที่สับสนและขัดแย้งในตัวเอง ตลาดหุ้นก็ดิ่งลงเรื่อยๆ เนื่องจากนักลงทุนในตลาดเป็นกลุ่มแรกที่มีสิทธิ์ แสดงความไม่พอใจ กับความล้มเหลวที่เฟดไม่ยอมแถลงว่าจะนำมาตรการใด มาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตต่อไป

ดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ ปิดต่ำลง 333.75 จุดหรือคิดเป็น 1.23% ในขณะที่ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลดลง 1.09%

ผลงานที่ไม่น่าประทับใจ

นักลงทุนไม่ได้ตอบสนองกับ การปรับลดอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงลง 25 จุด ของธนาคารกลางสหรัฐฯ มากนัก เพราะเคยมีการส่งสัญญาณดังกล่าวออกมาระยะหนึ่งแล้ว รวมทั้งเป็นการหยุดการลดลงของพอร์ตตราสารหนี้ของเฟดในวันพฤหัสบดี ซึ่งเร็วกว่ากำหนดสองเดือนและเป็นเพียงการทำให้ดูดีเท่านั้น

สิ่งที่ทำให้นักลงทุนตอบสนองคือวิธีการพูดแบบอ้อมค้อมของนายพาวเวลล์ใน การแถลงข่าว ซึ่งดูเป็นวิธีการแถลงที่ต่ำกว่ามาตรฐานขั้นต่ำที่เขาเคยทำได้ด้วยซ้ำไป

เมื่อถูกถามซ้ำๆ ว่าการปรับลดดอกเบี้ย 25 จุดในครั้งนี้จะเพียงพอที่จะตอบโจทย์ของเฟดที่ต้องการให้มีการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การเพิ่มปริมาณการจ้างงาน กระตุ้นอัตราเงินเฟ้อ รวมทั้งลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากความตึงเครียดในการเจรจาทางการค้าและการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกได้หรือไม่ นายพาวเวลล์ยืนยันว่าทั้งหมดนี้ไม่ได้เกี่ยวกับตัวเลข 25 จุดดังกล่าวเลย แต่เกี่่ยวกับแนวนโยบายของเฟดมากกว่า

การที่นายพาวเวลล์ได้เคยพยายามที่จะเปลี่ยนท่าทีของเฟดจากการที่เคยใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดมาเป็นแบบผ่อนคลายอย่างรวดเร็วก่อนหน้านี้นั้นทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินที่วางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี เขาชี้ว่าการปรับเปลี่ยนนโยบายจากการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย คงอัตราดอกเบี้ย จนมาถึงการลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าเรากำลังเข้าสู่ช่วงแนวโน้มขาลง

แต่จากนั้นเขาก็พูดสิ่งที่ขัดแย้งกับความเห็นของตนเองโดยกล่าวว่า การปรับลดในครั้งนี้เป็น “การปรับในรอบระยะกลาง” เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องปรับลดอีก ราวกับว่าเฟดสามารถแก้ไขสถานการณ์เศรษฐกิจที่กำลังถดถอยได้แล้วอย่างนั้นทีเดียว

การเพิกเฉยของนายพาวเวลล์

การพยายามแก้ไขปัญหาสัญญาณเศรษฐกิจย่ำแย่ที่เกิดจากอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่ไม่เหมาะสม กับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจถดถอยมีความแตกต่างกันอย่างไร? ถึงแม้จะมีคำตอบให้ แต่นักลงทุนก็คงจะไม่เชื่ออยู่ดี นักวิเคราะห์จึงคาดการณ์ได้ทันทีว่าขณะนี้คือจุดสูงสุดของตลาดหุ้นแล้ว

ไม่เพียงแต่นายพาวเวลล์จะไม่แยแสกับตลาดเท่านั้น เขายังแสดงให้เห็นมาโดยตลอดราวกับว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (FOMC) ไม่ทราบเลยว่าผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกำหนดนโยบายนั้นจะส่งผลกับสภาพเศรษฐกิจอย่างไร

ข้อมูลด้านบวกที่จะเกิดผลดีไม่ใช่ความอดทนหรือการยึดมั่นในนโยบาย แต่คือการคาดการณ์ที่สร้างความคาดหวังและทำให้เกิดความต้องการมากขึ้น สถานการณ์ในทางบวกเกิดขึ้นได้เนื่องจากเฟดให้ความหวังว่าจะปรับนโยบายทางการเงินให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริงในระยะสุดท้ายของการถดถอยของเศรษฐกิจ (ไม่เกิน 10 ปีของระยะกลาง)

ระหว่างท่าทีที่แข็งกร้าวกับประนีประนอม

กรรมการผู้มีสิทธิ์โหวตสองคนของ FOMC อย่างอลิซาเบธ จอร์จจากธนาคารเขตในเมืองแคนซัส ผู้มีท่าทีแข็งกร้าว และเอริค โรเซนเกรนจากบอสตัน ผู้ซึ่งเคยมีท่าทีประนีประนอมมาก่อนแต่กลับเปลี่ยนมามีท่าทีแข็งกร้าวในภายหลัง ทั้งสองไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้เนื่องจากคิดว่าการปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยคงอยู่ที่ 2.25-2.50 น่าจะดีกว่าการปรับลดให้เหลือ 2.00-2.25 ตามที่คณะกรรมการได้ตัดสินใจไป

แม้แต่ผู้ที่มีท่าทีประนีประนอมที่สุดคนหนึ่งอย่างนายเจมส์ บุลลาร์ด ผู้ว่าการธนาคารกลางเซนต์หลุยส์ซึ่งเคยออกมาคัดค้านในเดือนมิถุนายนเนื่องจากในขณะนั้นเขาเห็นว่าควรปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงยังออกมากล่าวก่อนการประชุมในครั้งนี้ว่าการปรับลด 25 จุดก็เพียงพอแล้ว นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้ริเริมให้พิจารณาใหม่อีกครั้งว่าอัตราดอกเบี้ยจะลดลงตามธรรมชาติได้อย่างไร รวมทั้งให้เฟดปรับขอบเขตการใช้นโยบายด้วย

ความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม

ในขณะที่ธนาคารกลางยุโรปกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากและพร้อมที่จะผลัก อัตราดอกเบี้ย ให้ลดลงมากยิ่งขึ้นเพื่อเริ่มใช้มาตรการเข้าซื้อสินทรัพย์ใหม่อีกครั้ง ธนาคารกลางอังกฤษก็กำลังไตร่ตรองว่าจะ ปรับลดอัตราดอกเบี้ย แทนการปรับเพิ่มดีหรือไม่แม้ว่าอังกฤษจะประสบปัญหาด้านอัตราเงินเฟ้อที่ค่อนข้างหนักอยู่ตาม ส่วนธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งกำลังย่ำแย่อยู่แล้วยังไม่สามารถทำอะไรได้นอกจาก คงอัตราดอกเบี้ย ไว้ที่ระดับเดิมเนื่องจากได้ให้คำมั่นไว้แล้วว่าจะดำเนินการแก้ไขทันทีตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ส่วนนายพาวเวลล์และคณะกรรมการของเฟดคนอื่นๆ ยังใช้ชีวิตสุขสบายอยู่ในอีกโลกหนึ่ง

ประธานธนาคารกลางไม่ได้มีหน้าที่ที่จะต้องพยายามไกล่เกลี่ยความคิดเห็นที่ขัดแย้งกันและไม่สามารถทำให้ถูกใจใครทุกคนได้ แต่เป็นหน้าที่ของเขาหรือเธอที่จะต้องดำเนินการให้ถูกต้อง และในครั้งนี้ก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่นายพาวเวลล์ไม่สามารถทำได้สำเร็จและยังทำให้เหตุการณ์แย่ลงไปอีกด้วยการให้ความเห็นที่ไม่รับผิดชอบเช่นนั้น

หลายฝ่ายยังคาดหวังว่าเฟดควรจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในเดือนกันยายนหลังจากที่เห็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นนี้ แต่ท้ายที่สุดแล้วความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ นี้อาจทำให้เกิดความเสียหายอย่างถาวรก็เป็นได้

Referrence: https://th.investing.com