สถิติเงินเฟ้อล่าสุดที่รายงานเมื่อวันศุกร์ที่แล้ว ประกอบกับดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือน พ.ย. ที่เพิ่มขึ้นมา 0.8% MoM และสูงกว่าระดับประมาณการ ส่งผลให้เงินเฟ้อเมื่อเทียบเป็นรายปีออกมาอยู่ 6.8% YoY ซึ่งนับเป็นอัตราการขยายตัวสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 1982 ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ขยายตัวได้ 0.5% MoM และ 4.9% YoY ซึ่งเป็นระดับสูงสุดใหม่นับตั้งแต่ฤดูร้อนปี 1992
ทั้งนี้ มีการวิเคราะห์ภาวะเงินเฟ้อดังกล่าวมีสาเหตุหลักจากราคาพลังงานที่ขยายตัวขึ้น 33.3% YoY โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ราคาสูงขึ้นเกือบถึง 60% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ส่วนราคาสินค้าอาหารขยายตัวขึ้น 31.4% ซึ่งถ้าพิจารณาเฉพาะราคาอาหารและพลังงานแล้ว ก็นับว่าปัจจุบันมีอัตราการขยายตัวเร็วที่สุดในรอบ 13 ปี ด้วย
ดังนั้น จึงเกิดความคาดหมายว่า Fed จะเร่งลดมาตรการผ่อนคลายทางการเงิน ในการประชุมที่จะจัดขึ้นในสัปดาห์นี้ แม้ Fed จะเคยชี้แจงว่าเงินเฟ้อที่พุ่งสูงดังกล่าวเป็นเพียงระยะเปลี่ยนผ่านของสถานการณ์โรคระบาด แต่ล่าสุดยังมีแนวโน้มว่าเงินเฟ้อจะขยายตัวสูงกว่าที่ Fed คาดการณ์ไว้ โดยอาจมีโอกาสขึ้นไปถึงเพดาน 7% ของปีนี้ได้
สถานการณ์ดังกล่าวทำให้ Fed ต้องเร่งจัดการกับปัญหาเงินเฟ้อ ตามที่มีรายงานจากกระทรวงแรงงานสหรัฐฯ สะท้อนว่าค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยรายชั่วโมงมีมูลค่าต่ำลงเมื่อเดือน พ.ย. สวนทางกับการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างโดยรวม แปลว่าการขยายตัวของเงินเฟ้อนั้นเร็วกว่าการขยายตัวของค่าจ้างแรงงาน นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยกดด้านราคาผู้บริโภคที่ส่งผลให้คะแนนนิยมของ ปธน.โจ ไบเดน ลดลงในการสำรวจครั้งล่าสุด
อย่างไรก็ตาม USD ยังมีปัจจัยลบที่สำคัญ คือความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาดเชื้อ Covid-19 สายพันธุ์ Omicron ซึ่ง Fed ยังตัดสินใจจะไม่ออกมาตรการผ่อนคลายทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์ดังกล่าว ในระยะสั้นจึงมีโอกาสที่ USD จะอ่อนค่าลง
Technical Views
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ย่อตัวลงมาอยู่ในรูปสามเหลี่ยมบริเวณขอบบนของกรอบ bull channel โดยหากราคาทรงตัวอยู่เหนือ 95.83 ได้ก็มีแนวโน้มจะแข็งค่าต่อไปทดสอบระดับ 97.90 แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกิดการอ่อนค่าลงจากนี้ ก็จะมีแนวรับถัดไปอยู่ที่ 94.63 และที่บริเวณขอบล่างของ bull channel ตามลำดับ
ติดตาม Blog Tickmill Thailand ได้ที่ https://www.tickmill.com/th/blog/