การประชุม Fed ล่าสุดไม่ส่งผลบวกต่อดอลลาร์สหรัฐฯ เท่าไรนัก โดยเฉพาะในช่วง European session โดยสัญญาณการเคลื่อนไหวที่ทรงตัวมาหลายสัปดาห์ ทำให้เกิดความคาดหวังว่า Fed จะมีนโยบายที่เป็นเชิงรุกมากขึ้นสอดรับกับผลสถิติและความเห็นของบอร์ดบริหาร แต่ในประการประชุมครั้งนี้มีเพียงมาตรการลดวงเงินซื้อสินทรัพย์ (QE) ลงอีกเดือนละ 30,000 ล้านดอลลาร์ (จากเดือน พ.ย. ซึ่งอยู่ที่ 15,000 ล้านดอลลาร์) โดยนายเจโรม เพาเวล ผู้ว่าการ Fed แถลงว่าการตัดสินใจดังกล่าวมีเหตุผลมาจากปัจจัยการฟื้นตัวในตลาดแรงงาน และการขยายตัวของระดับเงินเฟ้อ
ทั้งนี้ Fed ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไปในทิศทางบวก โดยประเมินว่า GDP จะเติบโตประมาณ 4% ในปี 65 (จากเดิมที่พยากรณ์ไว้ 3.8%) ส่วนดัชนี core PCE หรือการใช้จ่ายเพื่อบริโภคขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดระดับเงินเฟ้อ คาดว่าจะขยายตัวถึงระดับ 2.7% (จากเดิม 2.3%) และประเมินว่าอัตราการว่างงานจะเหลือ 3.5% (จากเดิม 3.8%) นอกจากนี้ ยังเปิดเผยว่าจะปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเป็น 0.9% (จากเดิม 0.3%)
สำหรับข้อมูลคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย หรือ Dot Plot นับว่าเป็นปัจจัยบวกที่สำคัญที่สุดจากการประชุม Fed ครั้งนี้ ที่เปิดเผยว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยจำนวน 3 ครั้งในปี 65 และอีก 2 ครั้งในปี 66 ขณะที่มาตรการ QE กำลังจะสิ้นสุดลงในเดือน ก.พ.65 (เร็วกว่าที่กำหนดไว้เดิมในเดือน พ.ค.65) จึงมีการทำนายว่า Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกภายในไตรมาส 2 ของปีหน้า ประมาณดือน มิ.ย.
ในภาพรวมจึงถือว่า Fed มีมุมมองเป็นบวกต่อแนวโน้มเศรษฐกิจของสหรัฐฯ โดยไม่ได้แสดงความกังวลถึงประเด็นเชื้อกลายพันธุ์ Omicron อย่างไรก็ตาม การที่ USD ยังไม่เคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นอย่างชัดเจน อาจเป็นผลจากที่นโยบายลด QE ต่างๆ ของ Fed นั้น มีกำหนดการล่าช้าออกไป ประกอบกับปริมาณขาย USD ในระยะนี้อาจสะท้อนถึงความกังวลที่เพิ่มขึ้นต่อข่าวสารเรื่อง Omicron ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องติดตามต่อไป
Technical Views
ดัชนีดอลลาร์สหรัฐฯ (DXY) ไม่สามารถขึ้นไปถึงระดับ 97.08 โดยเกิดการเคลื่อนไหวรูปแบบ double top ประกอบกับมีค่า MACD และ RSI ที่ต่ำลง ซึ่งถ้าหลังจากนี้มีการอ่อนตัวลงไปต่ำกว่า 95.83 ก็อาจเป็นสัญญาณยืนยันแนวโน้ม bearish โดยมีโอกาสจะปรับฐานที่บริเวณ 94.63 ก่อนอ่อนค่าต่อ
ติดตาม Blog Tickmill Thailand ได้ที่ https://www.tickmill.com/th/blog/